วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แบบฝึกหัด

20. เพราะเหตุใด อโลหะจึงยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์
      ก. อโลหะมีค่า EN สูงเสียอิเล็กตรอนยาก          ข. อโลหะมีค่า EN สูงเสียอิเล็กตรอนง่าย
      ค. อโลหะมีค่า EN ต่ำเสียอิเล็กตรอนยาก          ง. อโลหะมีค่า EN ต่ำเสียอิเล็กตรอนง่าย
21. ธาตุที่เกิดพันธะไอออนิกกับออกซิเจนได้ดีที่สุด คือ ข้อใด
      ก. กำมะถัน       ข. คลอรีน        ค. ดีบุก         ง. โซเดียม
22. ข้อใดต่อไปนี้เป็นสูตรของสารประกอบ เมอร์คูริกซัลไฟด์
      ก. CuCl                          ข. KBr             ค. PbS                           ง. HgS
23. การเกิดสารประกอบ  NaF(s) ข้อใดคือสมการรวมของปฏิกิริยา
      ก. Na(g)  + 1/2F2(g)        ------>            NaF(s)
      ข. Na(s)   + 2F2(g)         ------->            NaF(s)
      ค. Na(g)   + 1/2F(s)        ------>              NaF(s)
      ง. Na(s)   + 1/2F2(g)      ------>              NaF(s)
24. การที่อะตอมพยายามปรับตัวเองให้อยู่ในสภาพเสถียรโดยทำให้อิเล็กตรอนวงนอกสุดเท่ากับ 8 เรียกกฎนี้ว่าอะไร
        ก. กฎออกซิเดชั่น           ข. กฎออกเตต           ค. กฎโคเวเลนต์              ง. กฎไอออนิก
  25. ข้อใด ไม่ เกี่ยวข้องกับพันธะเคมี
       ก. รับอิเล็กตรอนจากอะตอมอื่น            ข. ใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน
       ค. แย่งอิเล็กตรอนกับอะตอมอื่น            ง. ให้อิเล็กตรอนกับอะตอมอื่น

26. ข้อใดกล่าว ไม่ ถูกต้องเกี่ยวกับสมบัติของสารประกอบไอออนิก
      ก. มีผลรวมของประจุสุทธิ เป็น ศูนย์        ข. เกิดจากการรวมตัวของไอออนบวกกับไอออนลบ
      ค.  จัดเรียงตัวเป็นผลึก                          ง. นำไฟฟ้าได้ทุกสถานะ 

27.  การที่โลหะรวมกับอโลหะแล้วโลหะจะให้อิเล็กตรอนแก่อโลหะ  เกิดไอออนบวกและไอออนลบ ดึงดูดกัน  ด้วยแรงดึงดูดไฟฟ้าสถิต  สร้างพันธะไอออนิกขึ้นในสารประกอบนั้น  เพราะเหตุใด เฉลยและดูเพิ่มเติม

แนวคิดเกี่ยวกับเรโซแนนซ์

    เรโซแนนซ์เป็นปรากฏการณ์ที่สามารถเขียนสูตรโครงสร้างได้มากกว่า 1 แบบ โดยทุกแบบจะมีตำแหน่งของอะตอมในโมเลกุลเหมือนกันต่างกันที่การจัดเรียงอิเล็กตรอนรอบๆ อะตอม หรือต่างกันที่ลักษณะของพันธะในโมเลกุล กล่าวคืออิเล็กตรอนที่อยู่รอบๆ อะตอมหรืออิเล็กตรอนที่ใช้ในการสร้างพันธะสามารถเคลื่อนที่ย้ายจากอะตอมหนึ่งไปยังอีกอะตอมหนึ่ง ทำให้ลักษณะของพันธะในโมเลกุลแตกต่างกันกิดเป็นสูตรโครงสร้างที่ไม่เหมือนกัน จึงทำให้มีความยาวพันธะเท่ากันทุกพันธะ พลังงานพันธะเท่ากันทุกพันธะ และอิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกันเท่ากันทุกพันธะเช่น โมเลกุลโอโซน พันธะโคเวเลนต์ที่เกิดระหว่างอะตอมของออกซิเจนกับออกซิเจนอีก 2 อะตอมอ่านเพิ่มเติม

ความยาวพันธะ


ความยาวพันธะ (อังกฤษ: Bond Length) คือ ระยะทางระหว่างจุดศูนย์กลางของอะตอมที่สร้างพันธะเคมีกัน ซึ่งความยาวพันธะระหว่างอะตอมคู่หนึ่งๆจะมีค่าเฉพาะในแต่ละโมเลกุลและมีค่าแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวิธีการวัด เช่น การวัดโดยใช้เทคนิคการเลี้ยวเบนอิเล็กตรอนในสถานะแก๊ส(gas-phase electron-diffraction)ความยาวพันธะจะเท่ากับระยะทางเฉลี่ยระหว่างอะตอมของสถานะการสั่น (vibrational states)ณ อุณหภูมิหนึ่งๆ หากการวัดใช้เทคนิคทางโครงอ่านเพิ่มเติม

พันธะโคเวเลนต์


พันธะโคเวเลนต์  คือ  พันธะเคมีที่เกิดขึ้นระหว่างอะตอมของธาตุอโลหะกับธาตุโลหะที่เข้ามาสร้างแรงยึดเหนี่ยวต่อกัน  เนื่องจากธาตุอโลหะจะมีสมบัติเป็นตัวรับอิเล็กตรอนที่ดีและยากต่อการสูญเสียอิเล็กตรอน  ดังนั้นอิเล็กตรอนของธาตุทั้งสองจึงต่างส่งแรงดึงดูดเพื่อที่จะดึงดูดอิเล็กตรอนของอีกฝ่ายให้เข้าหาตนเอง  ทำให้แรงดึงดูดจากนิวเคลียสของอะตอมทั้งสองหักล้างกัน  ดังนั้นอิเล็กตรอนจึงไม่มีการหลุดไปอยู่ในอะตอมใดอะตอมหนึ่งโดยเฉพาะ  แต่จะมีลักษณะเหมือนเป็นอิเล็กตรอนที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอะตอมทั้งสอง  เรียกอิเล็กตรอนที่อยู่กึ่งกลางอะตอมทั้งสอง  เรียกอิเล็กตรอนที่ถูกอะตอมใช้ร่วมกันในการสร้างพันธะอ่านเพิ่มเติม

ตารางธาตุ

ตารางธาตุ (อังกฤษ: Periodic table) คือ ตารางที่ใช้แสดงรายชื่อธาตุเคมี ซึ่งจัดเรียงบนพื้นฐานของเลขอะตอม (จำนวนโปรตอนในนิวเคลียส) การจัดเรียงอิเล็กตรอน และสมบัติทางเคมีโดยจะเรียงตามเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะระบุไว้ในร่วมกับสัญลักษณ์ธาตุเคมี ในกล่องของธาตุนั้น ตารางธาตุมาตรฐานจะมี 18 หมู่และ 7 คาบ และมีคาบพิเศษเพิ่มเติมมาอยู่ด้านล่างของตารางธาตุ ตารางยังสามารถเปลี่ยนเป็นการจัดเรียงตามบล็อก โดย บล็อก-s จะอยู่ซ้ายมือ บล็อก-p จะอยู่ขวามือ บล็อก-d จะอยู่ตรงกลางและบล็อก-f อยู่ที่ด้านล่าง
แถวแนวนอนในตารางธาตุจะเรียกว่า คาบ และแถวในแนวตั้งเรียกว่า หมู่ โดยหมู่บางหมู่จะมีชื่อเฉพาะ เช่นแฮโลเจน หรือแก๊สมีตระกูล โดยคำนิยามของตารางธาตุ ตารางธาตุยังมีแนวโน้มของสมบัติของธาตุ เนื่องจากเราสามารถใช้ตาราง อ่านเพิ่มเติม


แบบจำลองอะตอมกลุ่มหมอก

แบบจำลองอะตอมของโบร์ ใช้อธิบายเกี่ยวกับเส้นสเปกตรัมของธาตุไฮโดรเจนได้ดี  แต่ไม่สามารถอธิบายเส้นสเปกตรัมของอะตอมที่มีหลายอิเล็กตรอนได้        จึงได้มีการศึกษาเพิ่มเติมทางกลศาสตร์ควอนตัม      แล้วสร้างสมการสำหรับใช้คำนวณโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่าง ๆ ขึ้นมา จนได้แบบจำลองใหม่ ที่เรียกว่าแบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้   อิเล็กตรอนเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสอย่างรวดเร็ว ด้วยรัศมีไม่แน่นอนจึงไม่สามารถบอกตำแหน่งที่แน่นอนของอิเล็กตรอนได้บอกได้แต่เพียงโอกาสอ่านเพิ่มเติม

แบบจำลองอะตอมของโบร์

นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามศึกษาเรื่องเกี่ยวกับอะตอม โดยได้เสนอแบบจำลองอะตอมจากการทดลองที่เกิดขึ้น ซึ่งแบบจำลองของรัทเธอร์ฟอร์ดได้รับการยอมรับแต่ก็ยังไม่สมบูรณ์ จึงมีผู้พยายามหาคำอธิบายเพิ่มเติม โดยในปี 1913 นีล โบร์ (Niels Bohr) ได้นำทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัมมาประยุกต์ใช้ในการทดลอง เพื่อพัฒนาแบบจำลองอะตอมของรัทเธอร์ฟอร์ด แต่ในการทดลองของเขาสามารถอธิบายได้เฉพาะอะตอมของไฮโดรเจนที่มีอิเล็กตรอนเพียงตัวเดียว โดยได้เสนอแบบจำลองอะตอมของไฮโดรเจนว่าอ่านเพิ่มเติม